๶อกสารྺ้อ๶ท็จจริงเกี่ยวกับโรคซิฟิลิส

โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ หากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลต่อสมอง ไขสันหลังและอวัยวะอื่น ๆ การใช้ถุงยางอนามัยและแผ่นยางอนามัยสามารถป้องกันการแพร่เชื้อได้ ​​

โรคซิฟิลิสคืออะไร

โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ติดต่อได้ง่ายมาก (STI) ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Treponema pallidum โรคซิฟิลิสสามารถรักษาให้หายได้ด้วยยาปฏิชีวนะ หากไม่ได้รับการรักษา โรคซิฟิลิสอาจทําให้เกิดปัญหาสุขภาพร้ายแรงได้

โรคซิฟิลิสแพร่กระจายอย่างไร

โรคซิฟิลิสแพร่กระจาย

  • โดยการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก หรือทางปากที่ไม่มีการป้องกัน (โดยไม่มีถุงยางอนามัยหรือแผ่นยางอนามัย) กับผู้ที่มีการติดเชื้อ
  • จากมารดาสู่ทารกระหว่างตั้งครรภ์หรือคลอดบุตร (เรียกว่า 'โรคซิฟิลิสแต่กําเนิด')
  • ในบางกรณีที่ไม่ค่อยเกิดขึ้น โรคซิฟิลิสสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสทางผิวหนังได้

อาการྺองโรคซิฟิลิสคืออะไร

บางครั้งผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสจะไม่มีอาการ ซึ่งหมายความว่าหลายคนอาจไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นโรคนี้เว้นแต่จะได้รับการตรวจเลือด การติดเชื้อมีสามระยะ ที่เรียกกันว่าโรคซิฟิลิสปฐมภูมิ ทุติยภูมิและตติยภูมิ ​

การติด๶ชื้อแต่ละระยะมีอาการที่แตกต่างกัน

อาการทั่วไป ได้แก่

  • แผลหรือแผลเปื่อยบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก ปากมดลูก หรือปาก ที่เรียกกันว่า "แผลริมแข็ง" แผลมักจะปรากฏประมาณ 3 สัปดาห์หลังการติดเชื้อ แต่อาจอยู่ในช่วงตั้งแต่ 10 วันถึง 3 เดือน
  • ๶ป็Ȩื่น
  • รอยโรคที่ผิวหนัง
  • ต่อมȨำเหลืองบวม
  • มีไྺ้
  • ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ
  • ปวึϸล้าม๶Ȩ้อและྺ้อต่อ
  • ปวึϸัว
  • อ่อน๶พลีย
  • ก้อนหูดอาจเกิดขึ้นที่ขาหนีบ บริเวณทวารหนัก ใต้วงแขน หรือมุมปาก

หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา การติดเชื้ออาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ และสามารถแพร่กระจายไปยังสมอง เส้นประสาท ตา หัวใจ หลอดเลือด ไขสันหลัง ตับ กระดูก และข้อต่อ ระยะนี้เรียกว่าโรคซิฟิลิสระดับตติยภูมิ

โรคซิฟิลิสระบบประสาทและโรคซิฟิลิสใȨวงตา

โรคซิฟิลิสสามารถแพร่กระจายไปยังระบบประสาท (สมอง ไขสันหลัง และเส้นประสาท) ได้ในทุกระยะของการติดเชื้อ ซึ่งเรียกว่าโรคซิฟิลิสระบบประสาท อาการอาจรวมถึงการปวดศีรษะ พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลง ความยากลําบากในการประสานการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ อัมพาต ชา และภาวะสมองเสื่อม

โรคซิฟิลิสสามารถแพร่กระจายไปยังดวงตาได้ในทุกระยะของการติดเชื้อ (เรียกว่าโรคซิฟิลิสในดวงตา) อาการอาจรวมถึงการสูญเสียการมองเห็น ตาพร่ามัว ปวดตา ตาแดง หรือแม้แต่ตาบอดถาวร ​

ใครมีความเสี่ยงต่อโรคซิฟิลิสมากที่สุด

ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์เป็นประจำทุกคนมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะติดเชื้อโรคซิฟิลิส ได้แก่

  • ผู้ที่มี๶พศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันกับผู้ที่ติด๶ชื้อโรคซิฟิลิส
  • ผู้ที่มีคู่นอนหลายคน
  • เกย์ ไบเซ็กชวล และผู้ชายคนอื่น ๆ ที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย
  • คู่ครองเพศหญิงของผู้ชายที่มี๶พศสัมพันธ์กับผู้ชาย
  • ชาวอะบอริจินและชาว๶กาะช่องแคบทอร์๶รส
  • ทารกที่มารึϸไม่ไึϹรับการตรวจและรักษาโรคซิฟิลิสที่เหมาะสมในระหว่างตั้งครรภ์
  • ผู้ที่เสพยา โดยเฉพาะยาบ้าและยาฉีด
  • ผู้ที่๶คยได้รับการวินิจฉัยว่า๶ป็Ȩรคซิฟิลิส

ฉัȨะป้องกันตัวเองจากโรคซิฟิลิสไึϹอย่างไร

การติด๶ชื้อโรคซิฟิลิสสามารถป้องกัȨึϹโดย

  • ใช้ถุงยางอนามัย แผ่นยางอนามัย และสารหล่อลื่นสูตรน้ำเสมอ สําหรับการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด ทวารหนัก และทางปาก (หากมีผื่น ถุงยางอนามัยอาจไม่ได้ผล 100% แต่สามารถลดความเสี่ยงของคุณได้)
  • ห้ามมี๶พศสัมพันธ์กับผู้ที่มีแผล๶ปื่อยหรือแผลที่อวัยวะเพศ
  • ห้ามมีกิจกรรมทางเพศใด ๆ กับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซิฟิลิส จนกว่าจะครบ 7 วันหลังจากการรักษาเสร็จสิ้นและอาการได้หายไปอย่างหมดสิ้นแล้ว

โรคซิฟิลิสที่ไม่ได้รับการรักษาอาจเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก การตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจํากับแพทย์ของคุณ (รวมถึงการตรวจเลือดหาโรคซิฟิลิส) สามารถช่วยระบุและรักษาโรคซิฟิลิสได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

โรคซิฟิลิสในการตั้งครรภ์

บุคคลที่ตั้งครรภ์ควรได้รับการตรวจหาโรคซิฟิลิส

  • ในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ หรือในการฝากครรภ์ครั้งแรก
  • และอีกครั้งที่ 26-28 สัปดาห์
  • และต่อมาอีกครั้งที่ 36 สัปดาห์ และตอนคลอดหากมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเพิ่มขึ้น

การรักษาโรคซิฟิลิสนั้นปลอดภัย หากโรคซิฟิลิสได้รับการรักษาในช่วงแรกของการตั้งครรภ์จะมีประสิทธิภาพมากในการป้องกันโรคโรคซิฟิลิสให้กับทารกในครรภ์ ยิ่งการติดเชื้อได้รับการรักษาโดยเร็วเท่าใด ความเสี่ยงที่ทารกจะได้รับผลกระทบจากโรคซิฟิลิสก็จะยิ่งต่ำลงเท่านั้น

หากผู้ตั้งครรภ์เป็นโรคซิฟิลิส การติดเชื้อสามารถส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ได้ (เรียกว่าโรคซิฟิลิสแต่กําเนิด) ทารกในครรภ์ที่ติดเชื้ออาจเสียชีวิตในครรภ์ (ภาวะตายคลอด) หรือทารกอาจคลอดก่อนกำหนดและมีความผิดปกติโดยกำเนิด ทารกที่เกิดมาพร้อมกับโรคซิฟิลิสแต่กําเนิดอาจมีกระดูกผิดรูป โลหิตจางอย่างรุนแรง (ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดต่ำ) ตับหรือม้ามโต ผิวหนังหรือตาเหลือง (ดีซ่าน) ปัญหาเกี่ยวกับสมองและเส้นประสาท เช่น ตาบอดและหูหนวก การติดเชื้อที่สมอง (เยื่อหุ้มสมองอักเสบ) หรือผื่นที่ผิวหนัง หากทารกเหล่านี้ไม่ได้รับการรักษา อาจมีพัฒนาการล่าช้า มีอาการชัก หรือเสียชีวิตได้

โรคซิฟิลิสวิȨจฉัยได้อย่างไร

โรคซิฟิลิสได้รับการวินิจฉัยโดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการกับแพทย์หรือพยาบาลของคุณ การตรวจโรคซิฟิลิสสามารถรวบรวมได้จาก

  • การตรวจเลือด
  • การใช้ก้านสวอป๶พื่อ๶ก็บตัวอย่างแผล๶ปื่อยหรือแผล

จากนั้นตัวอย่างจะถูกส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อทําการตรวจ ขณะนี้ยังไม่มีชุดการตรวจด้วยตัวเองที่เชื่อถือได้ ซึ่งได้รับการอนุมัติให้ใช้ในออสเตรเลีย

หากคุณมีแผลเปื่อยหรือแผล ขอแนะนําให้คุณใช้ก้านสวอปเช็ดแแผลเปื่อยหรือแผลเพื่อนำไปตรวจ เนื่องจากอาจใช้เวลานานกว่าที่ผลที่เป็นบวกจะปรากฏในการตรวจเลือด ด้วยเหตุนี้ แพทย์หรือพยาบาลของคุณอาจแนะนําให้ทําการตรวจซ้ำอีกครั้งตอน 12 สัปดาห์หลังจากการสัมผัสเชื้อครั้งล่าสุด

โทรหา healthdirect (1800 022 222) เพื่อค้นหาบริการทดสอบใกล้บ้านคุณ

โรคซิฟิลิสรักษาอย่างไร

โรคซิฟิลิสมักจะรักษาด้วยการฉีดยาเพนิซิลลิน ยาเพนิซิลลินเป็นยาปฏิชีวนะ จํานวนการฉีดจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับระยะของการติดเชื้อ จําเป็นต้องมีการตรวจเลือดติดตามผลเพื่อตรวจสอบว่าการรักษาได้ผลหรือไม่

ผู้ที่เคยเป็นโรคซิฟิลิสสามารถเป็นโรคนี้ซ้ำได้อีก ผู้ที่เคยเป็นโรคซิฟิลิสอาจยังคงมีผลตรวจเลือดเป็นบวกแม้ว่าจะหายดีแล้วก็ตาม การนำประวัติการรักษาและการตรวจเลือดมาประกอบกันสามารถช่วยระบุได้ว่าเป็นการติดเชื้อครั้งใหม่หรือเป็นการติดเชื้อที่ได้รับการรักษาก่อนหน้านี้

คู่นอนจำเป็นต้องได้รับการตรวจและรักษา ซึ่งเป็นสิ่งสําคัญในการป้องกันการติดเชื้อซ้ำและป้องกันการติดเชื้อแพร่กระจายไปยังผู้อื่น ​

ฉัȨวรทําอย่างไรหากฉันมีผลตรวจโรคซิฟิลิส๶ป็Ȩวก

หากคุณเป็นโรคซิฟิลิส คุณควร

  • นัดหมายกับแพทย์ของคุณเพื่อทําความเข้าใจว่าขั้นตอนต่อไปคืออะไร แพทย์ของคุณอาจแนะนําให้ทําการตรวจเพิ่มเติมก่อนเริ่มการรักษา
  • พูดคุยกับแพทย์หรือพยาบาลของคุณเกี่ยวกับคู่นอนที่คุณคิดว่าอาจมีความเสี่ยง แพทย์หรือพยาบาลของคุณสามารถช่วยคุณติดต่อพวกเขาได้ สามารถทําได้โดยไม่เปิดเผยตัวตนและพวกเขาไม่จําเป็นต้องรู้ว่าคุณเป็นใคร

ข้อมูล๶พิ่ม๶ติม

  • Sexual Health Infolink (SHIL) ​สําหรับความช่วยเหลือด้านสุขภาพทางเพศฟรีและเป็นความลับ รวมถึงสายด่วนช่วยเหลือที่เป็นความลับที่เปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 9.00 น. ถึง 17.30 น. โดยโทร 1800 451 624
  • Play Safe ​สําหรับเยาวชนในการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การตรวจ และการรักษา
  • Let them know ๶พื่อขอคําแȨȨาและความช่วย๶หลือในการติดตามผู้ติึϸ่อที่เป็Ȩวามลับและไม่๶ปิึϹผยตัวตȨําหรับคู่นอนทั้งหมด
  • Better to Know สําหรับชาวอะบอริจินและชาว๶กาะช่องแคบทอร์๶รส ในการรับข้อมูลเกี่ยวกับโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และสถานที่รับตรวจ เว็บไซต์นี้ยังบอกวิธีแจ้งคู่นอนว่าคุณเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยที่พวกเขาไม่ต้องรู้ว่าคุณเป็นใคร
  • ศูนย์สุขภาพนักศึกษาต่างชาติ (International Student Health Hub) สําหรับนักศึกษาต่างชาติในการรับข้อมูลเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การคุมกําเนิดและการตั้งครรภ์
  • Family Planning ϳԹ Talkline ให้ข้อมูลและคําแนะนําด้านอนามัยการเจริญพันธุ์และสุขภาพทางเพศ เป็นบริการฟรี เป็นความลับ และเปิดให้บริการในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ 8:00-20:00 น. ที่หมายเลข1300 658 886 ​
Current as at: Thursday 24 April 2025
Contact page owner: Communicable Diseases